เส้นทาง ของ สถานีสนามหลวง (รถไฟฟ้าสายสีส้ม)

โครงการช่วงตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - แยกร่มเกล้า) (กำลังก่อสร้าง)

ช่วงที่ 1 : ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางบางกะปิ - ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นเส้นทางเข้าสู่พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่ใช้ร่วมกับสายเฉลิมรัชมงคล และยังเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการคมนาคมจากแหล่งที่พักอาศัยขนาดใหญ่ย่านบางกะปิเข้ากับสายเฉลิมรัชมงคล ที่กำหนดให้เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนรอบกรุงเทพฯ

เส้นทางส่วนนี้เป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากนั้นวิ่งตามแนวถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนพระราม 9 ที่บริเวณหน้าที่ทำการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แล้วเข้าสู่ถนนรามคำแหง บริเวณแยกรามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ราชมังคลากีฬาสถาน ไปสิ้นสุดเส้นทางที่แยกลำสาลีในย่านบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง) รวมระยะทางทั้งสิ้น 9 กิโลเมตร[6][7]

ช่วงที่ 2 : บางกะปิ - แยกร่มเกล้า

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางบางกะปิ - ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม แต่ได้แยกออกมาเป็นรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล[8] เมื่อปี พ.ศ. 2548 และมีการปรับแผนแม่บทฯ รวมเอาเส้นทางสายสีน้ำตาลกลับเข้ามาเป็นสายสีส้มอีกครั้งในปี พ.ศ. 2552

เป็นเส้นทางยกระดับเกือบทั้งหมดตามแนวถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) เริ่มต้นจากโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่แยกลำสาลี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางช่วงก่อนหน้านี้ ผ่านจุดตัดถนนศรีบูรพา จากนั้นจึงเริ่มยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเข้าสู่สถานีสัมมากร ที่ความสูง 10-12 เมตรจากผิวดิน จากนั้นยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงความสูงปกติที่ 15 เมตร ผ่านหมู่บ้านสัมมากร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ยกข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนาภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาว ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนมีนพัฒนา ผ่านเคหะรามคำแหง ไปสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณก่อนถึงแยกสุวินทวงศ์ ในพื้นที่แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น 11 กิโลเมตร

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จะประกอบไปด้วยสัญญาการก่อสร้างของ รฟม. ควบคู่สัญญาการก่อสร้างท่อร้อยไฟฟ้าใต้ดินของ การไฟฟ้านครหลวง เนื่องจากเป็นการก่อสร้างแบบควบคู่ทั้งโครงการ

สัญญาที่เนื้องานมูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูลความคืบหน้า
(ภาพรวม 100.00 %
ณ สิ้นเดือน สิงหาคม 2566[9]
1งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12
ระยะทาง 6.29 กม. (3.91 ไมล์)
20,698กิจการร่วมค้าซีเคเอสที
(บมจ. ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)
100 %
2งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-รามคำแหง 34
ระยะทาง 3.4 กม. (2.11 ไมล์)
21,572100 %
3งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 34-คลองบ้านม้า
ระยะทาง 4.04 กม. (2.51 ไมล์)
18,589.66บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์100 %
4งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-แยกร่มเกล้า
ระยะทาง 8.8 กม. (5.47 ไมล์)
9,999บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน100 %
5งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร4,901กิจการร่วมค้าซีเคเอสที
(บมจ. ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)
100 %
6งานวางระบบราง3,750บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน100 %
7งานระบบรถไฟฟ้า (บางขุนนนท์-สุวินทวงศ์)คณะกรรมการ รฟม. มีมติให้รวมงานเดินรถเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการก่อสร้างของโครงการส่วนตะวันตก

โครงการช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) (อยู่ระหว่างการประมูล)

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยต่อขยายแนวเส้นทางช่วงสามเสน (ซังฮี้) - ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ ของเส้นทางสายสีส้มเดิมมาเป็นบางบำหรุ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ ใน พ.ศ. 2553 ได้มีการแก้ไขเส้นทางโดยสลับกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงโครงข่ายในเมือง ที่ได้เปลี่ยนจากช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน มาเป็นบางบำหรุ-มักกะสัน ทำให้เส้นทางสายสีส้มส่วนนี้ต้องเปลี่ยนจาก บางบำหรุ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ มาเป็น ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ใน พ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนเป็นครั้งที่ 3 โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสิ้นสุดที่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทั้งหมดทับซ้อนกับสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ ใน พ.ศ. 2557 เกิดการคัดค้านการเวนคืนที่ดินหลายจุด เนื่องจากชุมชนประชาสงเคราะห์ไม่ยินยอมให้เวนคืนเพราะเป็นการทำรถไฟฟ้าใต้ดินที่จะจัดทำถนนขนาด 4 เลนตามแนวรถไฟฟ้าทำให้มีผู้เดือดร้อนจำนวนมาก ทำให้มีการเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นครั้งที่ 4 จากเดิมช่วงดินแดง - ศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็น ดินแดง - พระราม 9 แทน ทำให้เส้นทางสายสีส้มตะวันตกกลายเป็น บางขุนนนท์ - พระราม 9 แต่หลังจากการประชุมของคณะรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตามแนวเส้นทางเดิมตามแผนแม่บท พ.ศ. 2554 เนื่องจากเส้นทางเดิมส่วนใหญ่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และประชาชนรับทราบกันมาตั้งแต่ออกแผนแม่บทนี้เรียบร้อยแล้ว

แนวเส้นทางในส่วนตะวันตกเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากบริเวณด้านใต้สถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ในแนวตัดขวางกับถนนจรัญสนิทวงศ์ จากนั้นวิ่งเข้าอาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช โรงพยาบาลศิริราช จากนั้นลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่เขตพื้นที่อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ และลอดใต้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิต และเลี้ยวขวาลอดใต้โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์ ทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษก ด้วยการลอดใต้ศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก และมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มช่วงตะวันตกจะเป็นการมอบสัมปทานทั้งโครงการใหักับเอกชนผู้ประมูลงานทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว และรวมงานเดินรถทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันภายใต้สัญญาฉบับเดียวด้วย โดยมี บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม เป็นผู้รับสัมปทานและร่วมลงทุนในโครงการ มีระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 6 เดือน แบ่งเนื้องานเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การจัดหาระบบรถไฟฟ้า และระบบที่เกี่ยวข้อง 42 เดือน (3 ปี 6 เดือน) และการออกแบบควบคู่การก่อสร้าง 6 ปี อันเป็นการดำเนินการแบบควบคู่กัน และระยะที่ 2 ดำเนินงานรถไฟฟ้า ซ่อมบำรุง และบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ 30 ปี โดยมีรายละเอียดสัญญาดังนี้

ลำดับที่เนื้องาน
ระยะที่ 1 - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมถึงจัดหาระบบรถไฟฟ้า
ก.งานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทดลองการเดินรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก
ระยะเวลา 42 เดือน (3 ปี 6 เดือน) นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้เริ่มงาน
ข.งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร
งานวางรางวิ่ง ระบบไฟฟ้า การจัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทดลองการเดินรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก
ระยะเวลา 6 ปี นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้เริ่มงาน
ระยะที่ 2 - งานเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุง
2.1งานเดินรถไฟฟ้ารวมการซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟม. กำหนดให้มีการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกอย่างเป็นทางการ จนสิ้นสุดสัญญาการร่วมลงทุน

ทั้งนี้ บีอีเอ็ม จะเป็นผู้บริหารจัดการโครงการทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ทั้งงานโยธา การจัดหาแหล่งเงินลงทุน การเดินรถไฟฟ้า และการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทั้งหมด โดยที่งานโยธาทั้งหมดได้มีการมอบหมายให้ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมางานโยธาของโครงการทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว และการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องได้มอบหมายให้ บริษัท บางกอก เมโทร เน็ทเวอร์ค จำกัด เป็นผู้บริหารแต่เพียงผู้เดียวเช่นกัน

ผู้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอการลงทุน

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าซื้อเอกสารประกวดราคาสำหรับเข้าร่วมประมูลโครงการตั้งแต่วันที่ 10 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ก่อนเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยมีเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูล 10 ราย จาก 2 ประเทศ และมีเอกชนยื่นซองเข้าร่วมประมูลโครงการ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้มีมติยกเลิกการประมูลลงเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เนื่องจากมีคดีฟ้องร้องโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ต่อศาลปกครองกลาง ในเรื่องของการทุจริตโครงการจากการเปลี่ยนกติกาการประมูลที่เป็นส่วนสาระสำคัญ นั่นคือการเปลี่ยนวิธีการพิจารณาผู้ชนะจากจำนวนเงินที่ขอรับอุดหนุนจากรัฐบาล มาเป็นเกณฑ์การให้คะแนนจากการพิจารณาข้อเสนอทางการเงินร่วมกับข้อเสนอทางเทคนิคในสัดส่วน 70:30 อาจทำให้คณะกรรมการฯ สามารถใช้ดุลพินิจส่วนตัวในการมอบงานให้เอกชนที่มีความใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงว่าจะประมูลโครงการไม่ได้แทน ซึ่งบีทีเอสซียืนยันต่อศาลปกครองกลางว่าเป็นผู้เสียผลประโยชน์ทางตรงเนื่องจากบริษัทได้เข้าซื้อซองและเอกสารเชิญชวนเข้าร่วมลงทุนในโครงการอย่างถูกต้อง ทำให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองการประมูลโดยให้คณะกรรมการฯ ต้องกลับไปใช้กติกาการประมูลรูปแบบเดิม คือพิจารณาจากวงเงินขอรับสนับสนุนจากรัฐบาลแทน ทำให้คณะกรรมการฯ มีมติเลื่อนการเปิดประมูลออกไปเพื่อขออุทธรณ์คดี แต่จากความล่าช้าในการพิพากษาคำอุทธรณ์ และความเสี่ยงในการดำเนินการล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด ทำให้คณะกรรมการฯ ตัดสินใจล้มการประมูลในที่สุด ต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งยกฟ้องในคดีดังกล่าว โดยวินิจฉัยว่าการเปลี่ยนเกณฑ์การประมูลข้างต้นนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ปรากฏความเสียหายใด ๆ ให้แก่บีทีเอสซี

ภายหลังจากที่คดีที่ศาลปกครองสิ้นสุดลง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งคณะกรรมการฯ ชุดใหม่เพื่อกำหนดเงื่อนไขสำหรับการเข้าร่วมประมูลโครงการ โดยการประมูลโครงการรอบใหม่ได้มีการตัดสินใจยกเลิกเกณฑ์การให้คะแนนจากการพิจารณาข้อเสนอทางการเงินร่วมกับข้อเสนอทางเทคนิคในสัดส่วน 70:30 กลับมาเป็นการพิจารณาผู้ชนะจากจำนวนเงินที่ขอรับอุดหนุนจากรัฐบาล โดยในครั้งนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าซื้อเอกสารประกวดราคาสำหรับเข้าร่วมประมูลโครงการตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ก่อนเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยมีเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลทั้งสิ้น 14 ราย จาก 6 ประเทศ รวมบีทีเอสซี และบีอีเอ็ม

แต่แล้วเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนมติคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ที่เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการยกเลิกคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว โดยมีเหตุผลว่าการกระทำดังกล่าวถือเป็นเพียงความเห็นของ รฟม. ที่เห็นว่าการยกเลิกการประมูลไม่ได้ปรากฏผลเสียต่อธุรกิจให้กับเอกชนที่เข้าร่วมประมูลทั้งสองกลุ่มแต่อย่างใด แต่มิได้คำนึงว่าการเปลี่ยนเกณฑ์การประมูลที่เป็นส่วนสาระสำคัญ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง ดังนั้นการยกเลิกการประมูลโดยไม่รับฟังความเห็นของเอกชนที่เข้าร่วมประมูลเพื่อหาแนวทางการลดความขัดแย้งลงด้วยกัน หรือรอคำพิพากษาจากศาลปกครองสูงสุดให้เป็นที่สุดแล้วก่อนนั้น อาจส่อเค้าให้เกิดความไม่โปร่งใสในการประมูลตามบรรทัดฐานที่ควรจะเป็นและเจตนารมณ์ในการหุ้นส่วนกันระหว่างรัฐและเอกชนตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ดังนั้นเหตุผลในการยกเลิกการประมูลดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น และถือเป็นมติและประกาศที่ออกโดยใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้กระทรวงคมนาคมสั่งระงับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งหมดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เพื่อประกาศยกเลิกการประมูลทั้งสองรอบและแก้ปัญหาที่ต้นเหตุบนพื้นฐานที่ทุกฝ่ายเห็นว่า ร่างประกาศเชิญชวนประกวดราคาที่ออกมาต้องเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ทำให้กลุ่มผู้ลงทุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเกิดข้อคอรหาว่ามีการล็อกสเปค

แต่ รฟม. กลับยืนกรานเปิดรับข้อเสนอต่อในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยมีผู้เข้าร่วมการประมูลสองรายคือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยมี บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นซับคอนแทรคงานโยธา และกิจการร่วมค้าไอทีดี กรุ๊ป (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ Incheon Transit Corporation ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินในเกาหลีใต้) ทั้งนี้การประมูลรอบดังกล่าวกลุ่มบีทีเอสไม่ได้เข้าร่วมประมูล แต่ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองซ้ำอีกรอบโดยกล่าวหาว่าข้อเสนอการประมูลรอบใหม่มีการล็อกตัวผู้รับเหมาอย่างชัดเจน มีการกีดกันไม่ให้กลุ่มบริษัทเข้าประมูลได้ เจตนาส่อฮั้วประมูลอย่างชัดเจนตาม พ.ร.บ. ฮั้วประมูล พ.ศ. 2542 ซึ่งต่อมาศาลปกครองกลางได้ยกฟ้องในคดีดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า บีทีเอสซี สามารถเข้าร่วมประมูลได้โดยหาซับคอนแทรคเตอร์ตามข้อกำหนดในหลักเกณฑ์การประมูล ทำให้ รฟม. เปิดซองทั้งหมดและได้ผู้ชนะคือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้เสนอขอรับผลประโยชน์ตอบแทนจากภาครัฐน้อยที่สุด

ปัจจุบัน สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจสอบร่างสัญญาในขั้นแรก เบื้องต้นได้มีหนังสือตอบกลับแก่รฟม. รฟม เตรียมรายงานร่างสัญญาแก่บอร์ด รฟม. และกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอไปยังครม.พิจารณาอนุมัติ [10] ภายในสิ้นเดือนมกราคม 2566[11] แต่หลังจากที่พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ทำให้การพิจารณาลงนามสัมปทานถูกหยุดชั่วคราว เพื่อศึกษาความคุ้มค่าใหม่จากกรณีที่การประมูลครั้งล่าสุดมีหลายกรณีที่ไม่เป็นธรรม ทั้งการกีดกันการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม หนึ่งในผู้เข้าประมูลรับทราบอยู่แล้วว่าตัวเองขาดคุณสมบัติพื้นฐานแต่ยังเข้าลงประมูล รวมถึงกรณีส่วนต่างระหว่างผู้ชนะการประมูลกับกลุ่มบีทีเอสซีที่เสนอราคาต่ำเพียง 9,675.42 ล้านบาทในการประมูลรอบแรก จนทำให้เกิดความกังวลว่ารัฐบาลจะเสียค่าโง่ 70,000 ล้านบาท จากการล็อกสเป็คและกีดกันการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม

ชื่อบริษัทฯประเทศผลการยื่นข้อเสนอ
คุณสมบัติทั่วไปข้อเสนอทางเทคนิคข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน
(เงินที่รัฐฯ ร่วมลงทุนในโครงการ)
(ล้านบาท)
ข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติม
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ไทยผ่านผ่าน-78,287.95 ล้านบาท
กิจการร่วมค้าไอทีดี กรุ๊ปผ่านผ่าน-102,635.66 ล้านบาท
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ไทย
Incheon Transit Corporation Inc. เกาหลีใต้

งบประมาณ

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม มีมูลค่ารวม 143,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,000 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธาทั้งระบบ 96,000 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 32,000 ล้านบาท โดยรัฐฯ จะชำระค่างานโยธาทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยคืนให้ในระยะเวลา 10 ปีหลังเปิดดำเนินการ